วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลการเลือกตั้ง ปธานนาธิบดี อเมริกา

นับคะแนนระทึกศึกปธน.สหรัฐ โอบามาVSรอมนีย์


เมื่อวันที่ 7 พ.ย. บีบีซีรายงานบรรยากาศการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ว่า ในช่วงเที่ยงคืนตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้ามืดของประเทศไทย คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งตามมลรัฐต่างๆ เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการนับคะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่นับจากคณะผู้เลือกตั้ง เรียกว่า อิเลกทอรัล คอลเลจ (electoral college) ผู้ที่จะเป็นตัวแทนประชาชนไปเลือกประธานาธิบดี มีทั้งหมด 538 เสียง ดังนั้นผู้ชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีที่กำคะแนนคณะผู้เลือกตั้งนี้ถึง 270 เสียง จะถือเป็นผู้ชนะ

 เวลา 11.16 น. ตามเวลาไทย  NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
เวลา 11.15 น. ตามเวลาไทย ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน 
เวลา 11.00 น. ตามเวลาไทย โอบามามีคะแนนนำรอมนีย์ห่างออกไปที่ 244 ต่อ 178 เสียง ซึ่งหากได้คะแนนที่รัฐฟลอริดา จะเหมือนหลักประกันเข้าสู่เส้นชัย
เวลา 10.35 น. ตามเวลาไท โอบามายังนำด้วยคะแนน 172 ต่อ 163 เสียง ผู้สนับสนุนรอมนีย์เริ่มเครียด หลังโอบามาได้รัฐนิวแฮมป์เชอร์ และวิสคอนซิน ส่วนที่ฟลอริดา คะแนนสูสีมาก หลังนับไป 90% โอบามามี 49.9 รอมนีย์ ได้ 49.3
เวลา 10.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาแซงไปนำด้วยคะแนน 157 ต่อ 153 เสียง
เวลา 09.00 น. รอมนีย์แซงโอบามา ด้วยคะแนน 153 ต่อ 123 เสียง โดยทั้งสองฝ่ายต่างคว้าคะแนนในฐานที่มั่นของพรรคในสนามเลือกตั้งตามที่คาด การณ์ไว้ และต้องรอลุ้นคะแนนในรัฐที่คะแนนสูสี พร้อมจะพลิกได้ทุกเมื่อ
ต่อมาเวลา 08.30 น. ตามเวลาไทย รอมนีย์มีคะแนนไล่ตามมาติดๆ โอบามานำอยู่เพียง 77 ต่อ 76 เสียง
เข้าสู่ชั่วโมงต่อมา หรือ 08.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาไล่แซงไปอยู่ที่ 57 ต่อ 40 เสียง
ช่วงชั่วโมงแรก หรือตรง กับ 07.00 น. ตามเวลาไทย มิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน คว้าคะแนนนำก่อน 33 เสียง รวมถึงคะแนนที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ขณะที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา จากพรรคเดโมแครต ได้ 3 เสียง
ด้านซีเอ็นเอ็นรายงานผลเอ็กซิตโพล ในรัฐนอร์ท แคโรไลนา รอมนีย์และโอบามาต่างมีคะแนนเท่าๆ กันที่ร้อยละ 49 ส่วนเอ็กซิตโพลที่รัฐโอไฮโอ รัฐที่มักเป็นคะแนนหลักในการตัดสินผู้ชนะ โอบามานำรอมนีย์ร้อยละ 51 ต่อ 48
ที่มา มติชนออนไลน์
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2012 l ศึกชิงประธานาธิบดีสหรัฐ l โอบามา vs รอมนีย์ โอบามา l มิตต์ รอมนีย์ l การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 54


1. กฎหมาย คืออะไร?

 ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ 
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเ่ทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่้งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง) โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน" ซึ่งมีหลายลักษณะจะได้กล่าวในลำดับต่อไป 


2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?

กฎหมาย มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แ่ก่
   
๒.๑ ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ได้แก่
    -
รัฐสภา ถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง ในการบัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้ กฎหมายที่รงัฐสภาบัญญัติได้แก่ พระราชบัญญัติ
    -
รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี บางครั้งในยามบ้านเมืองมีความจำเป็นรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ฉับไว ถ้าหากรอให้รัฐสภาบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติ
ก็จะไม่ทันการณ์ อาจนำความเสียหายมาสู่บ้านเมืองได้ กฎหมายสูงสุด(รัฐธรรมนูญ) จึงให้อำนาจฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐบาลสามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับ
ในยามฉุกเฉิน เราเรียกกฎหมายนี้ว่า "พระราชกำหนด" ในขณะใช้บังคับพระราชกำหนดนั้น ๆ ให้รีบนำพระราชกำหนดนั้นเสนอรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบด้วย
พระราชกำหนดนั้น ก็จะเป็นพระราชบัญญัติ ใช้บังคับได้ต่อไป แต่หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ๆ ก็เป็นอันตกไป คือให้เลิกใช้บังคับต่อไป
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ลงไป ได้โดยที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายชั้นรองดังกล่าวนั้นก็คือ
พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง กฎหมายทั้งสองชนิดนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีฐานะหรือศักดิ์สูงกว่ากฎกระทรวง ทั้งนี้เพราะมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ส่วนกฎกระทรวง ผู้ลงนามประกาศใช้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สรุปว่า กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มี ๓ ชนิด คือพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
    -
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับภายในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทหรือ
กฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า กฎหมายส่วนท้องถิ่น มี ๕ ชนิดด้วยกัน ได้แก่
เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ เทศบาลหนึ่ง ๆ ที่บัญญัติขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับประชาชนในพื้นที่เทศบาลของตนเอง
ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของตน
ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยา บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่่ของเมืองพัทยา อ. บาลละมุง จ. ชลบุรี
   
๒.๒ ต้องเป็นข้อบังคับ ใช้บังคับพลเมือง (บังคับสมาชิกของสังคมนั้น ๆ)
   
๒.๓ ต้องบังคับทั่วไป คือบังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร คำว่าราชอาณาจักร
   
๒.๔ ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม

     
๓. ความสำคัญของกฎหมาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
   
๓.๑ สร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม
   
๓.๒ แก้ไขข้อขัดแย้ัง ในสังคม
จากเหตุผลดังกล่าว กฎหมายจึงถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสังคมให้อยู่รอด ดังคำกล่าวที่ว่า "มีสังคมที่ไหน มีกฎหมายที่นั่น"


    
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?

ความสำคัญ
 1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  
 2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
 3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ 
 4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 
ประโยชน์
1. สร้างความเป็นธรรม 
2. รู้จักสิทธิหน้าที่ของตัวเองที่จะปฏิบติต่อสังคม
3. ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
4. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง
5. รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีของประชาชน 

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
1)   กฎหมายมหาชน (Public Law)
(    2)   กฎหมายเอกชน (Private Law)
(    3)   กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไป
 หาต่ำ?
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1.               รัฐธรรมนูญ
3.               พระราชบัญญัติ
4.               พระราชกำหนด
5.               พระราชกฤษฎีกา
6.               กฎกระทรวง
7.               ข้อบัญญัติท้องถิ่น 

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?

ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ ใช้ระบบประมวลกฎหมาย  นักกฎหมายในระบบCivil Lawจะยึดถือกฎหมายที่ตราขึ้นจากฝ่ายนิติบัญญัติ และใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์และความมุ่งหมายแห่งกฎหมายนั้น ๆ  ยึดถือตัวบทเป็นสำคัญ  คำพิพากษาฉบับก่อน ๆ เป็นเพียงแนวทางหรือตัวอย่างในการวินิจฉัยคดีเท่านั้น  ในเรื่องเดียวกันศาลยุคหลังอาจเดินตามหรือไม่เดินตามคำพิพากษาก่อนหน้านั้นย่อมได้

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?

กฎหมายในระบบ "จารีตประเพณี" ที่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน มิใช่ใช้กันตามความรู้สึกแต่อย่างใด แต่เป็นการนำเอาคำพิพากษาในคดีที่ศาลตัดสินแล้วมาเป็นกฎหมาย ประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบนี้ เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศอเมริกา เป็นต้น

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?

กฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้

·                     ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)
          
·                     ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
          
·                     ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
          
·                     ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)
       
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?

ประเทศไทย ใช้ระบบกฎหมายCivil law หรือเรียกว่าระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร  ก่อนกล่าวถึงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงขอท้าวความถึงที่มาเสียก่อน

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?

องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 

1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ